Innovative Entrepreneurship Management
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม

Innovative Entrepreneurship Management
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม


หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม
การดวามเป็นผู้ประกอบการไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ หากแต่เกิดจากความตั้งใจในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า (Value creation) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ (Passion) และเข้าใจการจัดสรรทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้แนวคิดหรือนวัตกรรมที่คิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการโดยมุ่งเน้นความสำเร็จจากการประกอบการ ซึ่งเป็นทั้งผลตอบแทนในรูปของเงิน เช่น รายได้ หรือผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เช่น ความเป็นอิสระ เป็นต้น ผู้ประกอบการยังจำเป็นที่ต้องเข้าใจความเสี่ยง (Risk) ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้ได้
หลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยการบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการ โดยให้ความสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจที่ทันสมัย พร้อมทั้งยกระดับความเข็มแข็งและความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการเดิม ภายใต้การประสานงานอันดีระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
ผศ.ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์
ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม
วัตถุประสงค์
- ผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ให้มีองค์ความรู้ทางด้านการ บริหารธุรกิจที่ทันสมัยโดยเน้นการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ
- ยกระดับความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันแก่ธุรกิจต่างๆ โดยการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการบริหารธุรกิจที่เหมาะสมและทันสมัยแก่ผู้ประกอบการเดิม
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและประสานงานระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจซึ่งกันและกัน
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ เจ้าของกิจการต่าง ๆ ธุรกิจที่เน้นการผลิต การบริการ หรือ การค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
- พนักงานองค์กรธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งผู้บริหารขั้นต้น หรือพนักงานอาวุโสใน ฝ่าย ต่างๆ อาทิ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายการตลาด
วิดีโอแนะนำหลักสูตร
อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

ผศ.ดร.วรัญญา ติโลกะวิชัย

ผศ.ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์

ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์
อาจารย์ประจำ

ดร.สุขยืน เทพทอง

ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ

ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์
วัน-เวลาเรียน
- พุธ เวลา 18.00 - 21.00 น. และเสาร์ 9.00 – 20.00 น. และวันอาทิตย์ในบางเทอม
- ทั้งนี้วิชาเสริมพื้นฐาน EPM 511 และ EPM 581 จะเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 -16.00 น. (เริ่มเรียนประมาณเดือนมิ.ย.- ก.ค.)
จำนวนหน่วยกิต (ตลอดหลักสูตร)
- แผน ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) 40 หน่วยกิต (และวิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต)
- แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) 40 หน่วยกิต (และวิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต)
- แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต) 40 หน่วยกิต (และวิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต)
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 244,000 บาท
- ค่าหน่วยกิต หน่วยกิตละ 3,000 บาท
- ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
- ค่าบำรุงพิเศษ ภาคการศึกษาละ 3,750 บาท
ค่าลงทะเบียนวิชาภาษาอังกฤษหากสอบไม่ผ่านตามเกณฑ์ (ไม่รวมในค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร)
- LNG 550 2,000 บาท
- LNG 600 3,000 บาท
เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับยกเว้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
TETET* | TOEFL iBT | IELTS | TOEIC | การเรียนปรับพื้นวิชาภาษาอังกฤษ |
---|---|---|---|---|
< 3.5 | < 42 | < 4.0 | < 540 | ต้องเรียน 2 วิชา ได้แก่ LNG550 และ LNG600
|
3.5 – < 4.5 | 42 – < 72 | 4.0 – < 5.5 | 540 – < 650 | ต้องเรียน 1วิชา ได้แก่ LNG600 |
4.5 ขึ้นไป | 72 ขึ้นไป | 5.5 ขึ้นไป | 650 ขึ้นไป | ยกเว้นการเรียน |
* Test of English for Thai Engineers and Technologists (TETET) จัดสอบโดยคณะศิลปศาสตร์
รายวิชาเรียน
วิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
- EPM511 Financial and Managerial Accounting) 2 หน่วยกิต (S/U)
- EPM581 Business Inspiration 1 หน่วยกิต (S/U)
วิชาบังคับ 16 หน่วยกิต
- BUS621 Strategic Marketing Management 3 หน่วยกิต
- BUS631 Strategic Management and Business Control 3 หน่วยกิต
- EPM618 Entrepreneurial Finance 3 หน่วยกิต
- EPM651 Logistics and Supply Chain Management for Entrepreneurs 3 หน่วยกิต
- EPM682 International Business Communication for Entrepreneurs 3 หน่วยกิต
- EPM688 Seminar for Entrepreneurs 1 หน่วยกิต
วิชาแกน 12 หน่วยกิต
- EPM671 Commercialization and Innovation Strategy 3 หน่วยกิต
- EPM681 Ideation and Design Thinking 3 หน่วยกิต
- EPM683 Social Entrepreneurs and Innovation for sustainability 3 หน่วยกิต
- EPM684 Business Plan for Innovative Entrepreneurs 3 หน่วยกิต
วิชาเลือก (สำหรับแผน ข)
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต) 9 หน่วยกิต
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านการตลาด
- EPM621 Retail Business Management 3 หน่วยกิต
- EPM622 New Products and Services Development 3 หน่วยกิต
- EPM623 Service Marketing 3 หน่วยกิต
- EPM624 Customer Relationship Management for Entrepreneurs 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านนโยบายและการวางกลยุทธ์
- EPM632 International and Asia Emerging Business 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านทฤษฎีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เครื่องมือ เทคนิคการจัดการ และสารสนเทศการจัดการ
- BUS651Negotiations and Conflict Resolution 3 หน่วยกิต
- BUS661 Management Decision Science 3 หน่วยกิต
- EPM672 Entrepreneurial Management Information System 3 หน่วยกิต
- EPM673 E-Business Technology 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านความเป็นผู้ประกอบการ
- BUS642 Entrepreneurial Leadership and Human Resource Management 3 หน่วยกิต
- EPM689 Special Topic in Entrepreneurship 3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาอื่นๆ
- XXX XXX วิชาเลือกที่เปิดสอนโดยบัณฑิตวิทยาลัยฯ และได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้สอน 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน ก) และการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข)
- GMI691 Thesis 12 หน่วยกิต
- GMI692 Special Research 6 หน่วยกิต
- GMI693 Independent Study 3 หน่วยกิต
- GMI694 Innovative Business Plan Project 6 หน่วยกิต
- GMI695 Business Consultation Project) 6 หน่วยกิต
- GMI696 Entrepreneur Development Project 6 หน่วยกิต
วิชาภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้ (กรณีไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษ)
- LNG550 Remedial English Course for Post Graduate Students 2 หน่วยกิต
- LNG600 Insessional English Course for Post Graduate Students 3 หน่วยกิต