นักเรียนทุน ก.พ. สังกัดกระทรวงพลังงานนำเสนอแผนการลดคาร์บอน (De-Carbonization) จากการอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นักเรียนทุน ก.พ. สังกัดกระทรวงพลังงานนำเสนอแผนการลดคาร์บอน (De-Carbonization) จากการอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์นวพาณิชย์ (“ศูนย์คราฟแลป”) ภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงาน ก.พ. และกระทรวงพลังงานในการจัดอบรมแบบมุ่งเป้า “โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2565: กระทรวงพลังงาน” โดยมี ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ เป็นหัวหน้าโครงการ
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ข้าราชการพลเรือนในกำกับของกระทรวงพลังงานผู้ได้รับทุน ก.พ. ได้ประมวลความรู้ ความเข้าใจ จากการอบรม การเข้าดูงาน ฝึกปฏิบัติ และพัฒนาแผนปฏิบัติการการลดคาร์บอนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568 – 2572) และนำเสนอโครงการเดี่ยว จำนวน 12 โครงการประกอบแผนปฏิบัติการการลดคาร์บอนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2568 – 2572)
โดยผู้นำเสนอมีรายชื่อดังนี้
นางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์
นางจิรวดี นิจสุนกิจ
นางสาวนุชจรีย์ น้อยวานิช
นางวริยา ทองธนากูลเศรษฐ์
นางสาวธัญชนก เชิดชู
นายศุภชัย สำเภา
นางสาวณัฎฐวี รักษาแก้ว
นางสาวภัครัมภา เมืองลอย
นายสยาม มัชณิมา
นางสาวสุกัญญา นันตา
นางสาวปุลิน ธำรงค์ลักษ์
นายกำธร นวเลิศปัญญา
ในการนำเสนอครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณชํานาญ กายประสิทธิ์ รองอธิบดีกระทรวงพลังงาน นายไพรัช เพชรล้ำ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ผศ. ดร. กูสกานา กูบาฮา คณบดี คณะพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ. ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ คณบดี บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ดร.อานนท์ ทับเที่ยง ที่ปรึกษาโครงการและวิทยากร ผศ. ดร. สิริลักษณ์ เจียรากร ที่ปรึกษาโครงการและวิทยากร นายวรินทร ยอดอาหาร นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ นางสาวทัศวรรณ พึ่งธรรม นักทรัพยากรบุคคล นายภูมิ จันทะพันธ์ เลขานุการรองอธิบดี มาเป็นกรรมการประเมินแผนและโครงการในครั้งนี้
ผลการนำเสนอเป็นที่ประจักษ์ถึงความสามารถของผู้เข้ารับการอบรม และเห็นแนวทางการลดคาร์บอนของประเทศในส่วนพลังงานได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ การร่วมลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และการพัฒนาฐานรากด้านการเกษตรและพลังงาน เป็นไปได้ตามเป้าหมายของข้อผูกพันระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับแผนพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ

ข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ