
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ
(สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม)
“เทคโนโลยี” และ “นวัตกรรม” ได้เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขันของธุรกิจ และอุตสาหกรรม แต่องค์กรต่างๆ ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เต็มที่เนื่องจากองค์การเหล่านั้นยังขาดความรู้และความเข้าใจในการกำหนดบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมลงไปในกลยุทธ์และการปฏิบัติงานขององค์การหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นผู้กำหนดบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับองค์กรต่างๆทั้งในระดับนโยบาย กลยุทธ์
และการปฏิบัติงานและเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จำเป็นต่อการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ
รักษาการประธานสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
วัตถุประสงค์
- ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์โดยมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพในการวิจัยและการจัดการองค์การเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาศาสตร์ความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงองค์การ ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ทิศทางการพัฒนาของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- เสริมสร้างทักษะและยกระดับความเข้มแข็ง ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ และความสามารถด้านการวิเคราะห์ให้แก่ผู้เรียน
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และประสานงานระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจที่เอื้อและเกื้อหนุนต่อกันและกัน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ดร.วินัย หอมสมบัติ
คุณวุฒิ :Ph.D. (Transportation Economics and Logistics Management)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :The Hong Kong Polytechnic University,Hong Kong SAR

ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ
คุณวุฒิ :Ph.D. (Public Administration and Public Policy)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :The University of York, U.K.

ดร.สุขยืน เทพทอง
คุณวุฒิ :Ph.D. (Development Administration)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย

ดร.ศศิธร มหาคุณาจิระกุล
คุณวุฒิ :ปร.ด. (การตลาด)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :โครงการปริญญาเอกร่วม สาขาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย

ดร.ดั้นดุสิต โปราณานนท์
คุณวุฒิ :วท.ด. (ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทยR
อาจารย์ประจำ

ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ
คุณวุฒิ :Ph.D.(Systems Science Engineering Management)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :Portland State University, U.S.

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง
คุณวุฒิ :Ph.D. (Computer Network)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :Pierre-Marie Curie University (Paris 6), France

ดร.มงคล อัศวดิลกฤทธิ์
คุณวุฒิ :ปร.ด. (วิศวกรรมโยธา)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ประเทศไทย

ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม
คุณวุฒิ :Ph.D. (Development Administration)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย
วัน-เวลาในการจัดการเรียนการสอน
วันอังคาร, วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 21.00 น. และวันเสาร์ – วันอาทิตย์
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
40 หน่วยกิต (และวิชาเสริมพื้นฐาน 4 หน่วยกิต)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
BUS 515 หลักการจัดการบัญชีสำหรับผู้บริหาร 2 หน่วยกิต (S/U)
Accounting Principles for Executives)
BUS 601 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ 2 หน่วยกิต (S/U)
(English for Business Communication)
หมวดวิชาบังคับ 16 หน่วยกิต
BUS 617 การวิเคราะห์โครงการลงทุน 3 หน่วยกิต
(Project Feasibility Analysis)
BUS 634 ธรรมาภิบาลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม 1 หน่วยกิต
(Corporate Governance and Social Responsibility)
BUS 635 กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด 3 หน่วยกิต
(Market Entry Strategy)
BUS 636 กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน 3 หน่วยกิต
(Strategy for Sustainable Business Growth)
BUS 641 กระบวนการองค์กรและการจัดการทรัพยากรบุคคล 3 หน่วยกิต
(Organizational Process and Human Resource Management)
BUS 653 การจัดการกระบวนการธุรกิจ 2 หน่วยกิต
(Business Process Management)
BUS 654 การวิจัยทางธุรกิจ 1 หน่วยกิต
(Business Research)
หมวดวิชาแกน 12 หน่วยกิต
TIM 621 การพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ 3 หน่วยกิต
(Innovative Product and Service Development)
TIM 632 พื้นฐานการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 หน่วยกิต
(Fundamentals of Technology and Innovation Management)
TIM 651 เครื่องมือร่วมสมัยสำหรับการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 หน่วยกิต
(Contemporary Tools in Technology and Innovation Management)
TIM 661 การวิเคราะห์เทคโนโลยีกำเนิดใหม่ 3 หน่วยกิต
(Analysis of Emerging Technologies)
หมวดวิชาเลือก (สำหรับแผน ข ) 9 หน่วยกิต
TIM 601 หัวข้อพิเศษ 1 3 หน่วยกิต
(Special Topic I)
TIM 602 หัวข้อพิเศษ 2 3 หน่วยกิต
(Special Topic II)
TIM 631 นโยบายเทคโนโลยีและการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
(Technology Policy and Economic Development)
XXX XXX วิชาเลือกที่เปิดสอนโดยบัณฑิตวิทยาลัยฯ และได้รับ 3 หน่วยกิต
ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้สอน
หมายเหตุ: นักศึกษาแผน ข. จะต้องเรียนวิชาเลือกอย่างน้อย 9 หน่วยกิต จากแขนง/กลุ่มวิชาของตนเอง หรือเลือกจากแขนง/กลุ่มวิชาอื่นที่คณะเปิดสอน
วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน ก2) 12 หน่วยกิต
GMI 691 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 หน่วยกิต
การค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข) 3 หน่วยกิต
GMI 693 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิต)
LNG 550 วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2 หน่วยกิต (S/U)
(Remedial English Course for Post Graduate Students)
LNG 600 วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตร 3 หน่วยกิต (S/U)
สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
(In-sessional English Course for Post Graduate Students)
หมายเหตุ นักศึกษาต้องเรียนวิชา LNG 550 และ/หรือ LNG 600 ทั้งนี้การยกเว้นขึ้นอยู่กับระดับคะแนนการทดสอบและเงื่อนไขตามที่คณะศิลปศาสตร์กำหนด